นักวิจัยพบเครือข่ายคลองมากมายทีีย่นเส้นทางจากแหล่งสกัดหินทรายที่อยู่ตีนภูเขาใกล้ๆ ซึ่งใกล้กว่าเส้นทางลำเลียงผ่านแม่น้ำ และคาดว่าคือเส้นทางในการขนส่งก้อนหินขนาดมหึมา ( Alexey Stiop/ไลฟ์ไซน์)
นักวิจัยพบเครือข่ายเส้นทางน้ำมากมายใช้ลำเลียงหินก้อนมหึมาจากภูเขาข้างๆ ไปสร้าง “นครวัด” ตอบคำถามว่า ขอมโบราณลำเลียงหินนับสิบล้านก้อนที่บางก้อนหนักถึง 1,500 กิโลกรัมเมื่อช่วงศตวรรษที่ 12 ได้อย่างไร
“เราพบแหล่งสกัดหินทรายจำนวนมากสำหรับใช้สร้างนครวัด และยังพบเส้นทางในการลำเลียงก้อนหินทรายเหล่านั้นด้วย” เอสทูโอะ ยูชิดะ (Estuo Uchida) จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยอธิบายแก่ไลฟ์ไซน์
ทั้งนี้ นครวัดถูกสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (King Suryavarman II) ของอาณาจักรขอมโบราณ โดยมีพื้นที่กว่า 250 ตารางกิโลเมตรตั้งอยู่ในเมืองพระนคร (Angkor) ซึ่งปัจจุบันคือกัมพูชา โดยสิ่งปลูกสร้างอันซับซ้อนถูกสร้างขึ้นเพื่อถวายสักการะแก่พระวิษณุซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฮินดู แต่ในศตวรรษที่ 14 ผู้ปกครองของขอมได้เปลี่ยนเป็นศาสนสถานของชาวพุทธ
นครวัดถูกสร้างขึ้นจากหินทรายราว 5-10 ล้านก้อน โดยบางก้อนหนักถึง 1,500 กิโลกรัม ซึ่งนักโบราณคดีทราบว่า หินเหล่านั้นมาจากแหล่งสกัดหินที่ตีนภูเขาใกล้ๆ แต่ก็สงสัยว่าหินทรายก้อนมหึมาเหล่านั้นถูกลำเลียงมายังจุดก่อสร้างได้อย่างไร
ยูชิดะกล่าวว่า ก่อนหน้านี้คนทั่วไปเข้าใจว่าก้อนหินถูกขนส่งมายังทะเลสาบโตนเล (Tonle Sap Lake) ทางลำคลอง แล้วถูกลำเลียงทวนกระแสน้ำผ่านแม่น้ำอื่นๆ มายังวิหาร และเพื่อพิจารณาว่าเป็นกรณีเช่นนั้นจริง เขาและทีมจึงได้ออกสำรวจพื้นที่และพบแหล่งสกัดหิน 50 แห่งตลอดแนวทำนบที่ตีนภูเขากุเลน (Mt.Kulen)
พร้อมกันนี้พวกเขายังตรวจดูภาพถ่ายจากดาวเทียมของพื้นที่ดังกล่าวและพบเครือข่ายนับร้อยของคลองและถนนที่เชื่อมจากจุดสกัดหินไปยังจุดก่อสร้าง โดยเส้นทางจากแหล่งสกัดหินไปถึงนครวัดนั้นมีระยะทางเพียง 37 กิโลเมตร เทียบกับเส้นทางแม่น้ำที่ยาวถึง 90 กิโลเมตร ซึ่งโครงข่ายของคลองต่างๆ เหล่านั้นชี้ว่า ผู้สร้างนครวัดได้สร้างทางลัดเมื่อก่อสร้างวิหาร และอาจเป็นสิ่งอธิบายได้ว่าพวกเขาสร้างสิ่งที่ซับซ้อนภายในเวลาไม่กี่ทศวรรษได้อย่างไร
INFO: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137334
“เราพบแหล่งสกัดหินทรายจำนวนมากสำหรับใช้สร้างนครวัด และยังพบเส้นทางในการลำเลียงก้อนหินทรายเหล่านั้นด้วย” เอสทูโอะ ยูชิดะ (Estuo Uchida) จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยอธิบายแก่ไลฟ์ไซน์
ทั้งนี้ นครวัดถูกสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (King Suryavarman II) ของอาณาจักรขอมโบราณ โดยมีพื้นที่กว่า 250 ตารางกิโลเมตรตั้งอยู่ในเมืองพระนคร (Angkor) ซึ่งปัจจุบันคือกัมพูชา โดยสิ่งปลูกสร้างอันซับซ้อนถูกสร้างขึ้นเพื่อถวายสักการะแก่พระวิษณุซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฮินดู แต่ในศตวรรษที่ 14 ผู้ปกครองของขอมได้เปลี่ยนเป็นศาสนสถานของชาวพุทธ
นครวัดถูกสร้างขึ้นจากหินทรายราว 5-10 ล้านก้อน โดยบางก้อนหนักถึง 1,500 กิโลกรัม ซึ่งนักโบราณคดีทราบว่า หินเหล่านั้นมาจากแหล่งสกัดหินที่ตีนภูเขาใกล้ๆ แต่ก็สงสัยว่าหินทรายก้อนมหึมาเหล่านั้นถูกลำเลียงมายังจุดก่อสร้างได้อย่างไร
ยูชิดะกล่าวว่า ก่อนหน้านี้คนทั่วไปเข้าใจว่าก้อนหินถูกขนส่งมายังทะเลสาบโตนเล (Tonle Sap Lake) ทางลำคลอง แล้วถูกลำเลียงทวนกระแสน้ำผ่านแม่น้ำอื่นๆ มายังวิหาร และเพื่อพิจารณาว่าเป็นกรณีเช่นนั้นจริง เขาและทีมจึงได้ออกสำรวจพื้นที่และพบแหล่งสกัดหิน 50 แห่งตลอดแนวทำนบที่ตีนภูเขากุเลน (Mt.Kulen)
พร้อมกันนี้พวกเขายังตรวจดูภาพถ่ายจากดาวเทียมของพื้นที่ดังกล่าวและพบเครือข่ายนับร้อยของคลองและถนนที่เชื่อมจากจุดสกัดหินไปยังจุดก่อสร้าง โดยเส้นทางจากแหล่งสกัดหินไปถึงนครวัดนั้นมีระยะทางเพียง 37 กิโลเมตร เทียบกับเส้นทางแม่น้ำที่ยาวถึง 90 กิโลเมตร ซึ่งโครงข่ายของคลองต่างๆ เหล่านั้นชี้ว่า ผู้สร้างนครวัดได้สร้างทางลัดเมื่อก่อสร้างวิหาร และอาจเป็นสิ่งอธิบายได้ว่าพวกเขาสร้างสิ่งที่ซับซ้อนภายในเวลาไม่กี่ทศวรรษได้อย่างไร
INFO: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137334